แบบทดสอบ

โปรแกรมสร้างแบบทดสอบ
1. ระบบกฎหมายของประเทศไทยจัดเป็นกฎหมายประเภทใด
ก. กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
ข. กฎหมายลายลักษณ์อักษร
ค. กฎหมายประเพณี
ง. กฎหมู่

2. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีลำดับศักดิ์เทียบเท่ากฎหมายใด
ก. รัฐธรรมนูญ
ข. พระราชบัญญัติ
ค. พระราชกฤษฎีกา
ง. กฎกระทรวง

3. เหตุผลข้อใดเป็นเหตุผลที่สำคัญที่สุดในการปรับปรุงกฎหมายไทยครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๕
ก. ไทยเสียสิทธิทางการศาล
ข. ไทยเสียเปรียบเรื่องการค้าขายกับต่างประเทศ
ค. มีนักเรียนไทยเตรียมตัวไปศึกษาต่อต่างประเทศ
ง. เพื่อให้มีกฎหมายเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน

4. การอุดช่องว่างของกฎหมายเป็นวิธีการทางกฎหมายที่จะใช้เมื่อมีกรณีใดเกิดขึ้น
ก. ไม่มีบทบัญญัติกฎหมายมาใช้ปรับกับคดี
ข. ไม่สามารถหาความหมายของบทบัญญัติในกฎหมายได้
ค. ตำรากฎหมายที่มีอยู่มีการฉีกขาดจนเห็นตัวอักษรไม่ชัดเจน
ง. ผู้พิพากษาศาลชั้นต้น ชั้นอุทธรณ์ และชั้นฎีกามีความเห็นไม่ตรงกัน

5. ข้อใดหมายถึงอำนาจอันชอบธรรม
ก. สิทธิ
ข. หน้าที่
ค. เสรีภาพ
ง. เอกสิทธิ์

6. สภาพบุคคลเริ่มเมื่อใด
ก. ปฏิสนธิ
ข. เริ่มดิ้นในครรภ์มารดา
ค. คลอดและอยู่รอดเป็นทารก
ง. แพทย์ออกใบสูติบัตรให้

7. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ชื่อสกุล
ก. หญิงมีสามีเลือกใช้ชื่อสกุลของสามีหรือของตนเองได้
ข. หญิงหม้ายเพราะสามีตายเลือกใช้ชื่อสกุลของตนหรือสามีก็ได้
ค. บุตรที่เกิดจากบิดามารดาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันมีสิทธิใช้นามสกุลของบิดา
ง. บุตรบุญธรรมเลือกใช้ชื่อสกุลเดิมของตนเองหรือนามสกุลของผู้รับบุตรบุญธรรมก็ได้

8. บุคคลผู้หายไปในระหว่างสงครามจะถูกร้องขอให้เป็นบุคคลสาบสูญได้เมื่อใด
ก. ๒ ปีนับแต่วันที่ไม่มีผู้ใดรู้ว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่
ข. ๒ ปีนับแต่วันที่สงครามสิ้นสุดลง
ค. ๕ ปีนับแต่วันที่ไม่มีผู้ใดรู้ว่ายังมีชีวิตอยู่หรือไม่
ง. ๕ ปี นับแต่วันที่สงครามสิ้นสุดลง

9. ถ้าบุคคลใดกระทำความผิดในราชอาณาจักร แต่ได้รับสิทธิพิเศษโดยไม่ต้องขึ้นศาลไทย หมายความว่าบุคคลนั้นอ้างอะไร
ก. ความคุ้มกัน
ข. สิทธิ
ค. อำนาจ
ง. เอกสิทธิ์

10. ผู้ที่ศาลแต่งตั้งขึ้นเพื่อดูแลคนไร้ความสามารถเรียกว่าอะไร
ก. ผู้อนุบาล
ข. ผู้พิทักษ์
ค. ผู้ปกครอง
ง. ผู้แทนโดยชอบธรรม

11. ข้อใดเป็นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ก. กระแสไฟฟ้า
ข. แสงแดด
ค. ดวงจันทร์
ง. ปลาโลมาในทะเล

12. ข้อใดเป็นส่วนควบ
ก. ต้นกล้วยปลูกอยู่บนพื้นดิน
ข. ร่มกันแดดปักบนสนามหญ้า
ค. บานหน้าต่างที่ติดกับตัวบ้าน
ง. ช้อนกับส้อม

13. ข้อใดตามกฎหมายเป็นอุปกรณ์ของรถยนต์
ก. ล้อรถยนต์
ข. แม่แรงที่อยู่ในรถยนต์
ค. พวงมาลัยรถยนต์
ง. ถูกทุกข้อ

14. ทรัพย์ใดต่อไปนี้เป็นทรัพย์ที่ต้องมีทะเบียนเพื่อแสดงกรรมสิทธิ์ตามกฎหมาย
ก. ม้าที่ใช้เป็นพาหนะ
ข. รถยนต์
ค. สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ง. ถูกทุกข้อ

15. ทรัพย์สินข้อใดซื้อขายไม่ได้
ก. ที่ดินมีโฉนด
ข. สาธารณสมบัติของแผ่นดิน
ค. อาวุธปืน
ง. ช้าง

16. โดยปกตินิติกรรมที่บุคคลวิกลจริตทำมีผลอย่างไร
ก. สมบูรณ์
ข. โมฆียะ
ค. โมฆะ
ง. ไม่สามารถบังคับได้ตามกฎหมาย

17. ข้อใดเป็นการทำนิติกรรม
ก. นายแฟ้มขอแต่งงานกับนางสาวแอนน่า
ข. นางแจ๋วเก็บของตกได้จึงเก็บไว้เป็นของตนเอง
ค. นายดำให้เงินคนขอทานที่สะพานลอย ๒๐ บาท
ง. นายกรัฐมนตรีกล่าวกับประชาชนว่าประชาชนต้องมาก่อน

18.ข้อใดเป็นการทำนิติกรรมฝ่ายเดียว
ก. การซื้อขาย
ข. การจำนอง
ค. การทำพินัยกรรม
ง. การฝากทรัพย์

19. นิติกรรมใดมีผลเป็นโมฆียะ
ก. นิติกรรมที่เป็นการพ้นวิสัย
ข. นิติกรรมที่ไม่ได้ทำตามแบบ
ค. นิติกรรมที่สำคัญผิดในคุณสมบัติบุคคล
ง. นิติกรรมที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน

20. สาเหตุใดที่ทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะ
ก. นิติกรรมที่ทำโดยผู้เยาว์
ข. นิติกรรมที่ขัดต่อกฎหมาย
ค. นิติกรรมที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนด
ง. ถูกเฉพาะข้อ ข. และ ค.

21. ความหมายของสัญญาคือข้อใด
ก. ข้อตกลงที่มีการทำเอกสารหลักฐาน
ข. ความรู้สึกของบุคคลที่ต้องทำตามข้อตกลง
ค. ความผูกพันระหว่างบุคคลที่มีคำเสนอและคำสนองตรงกัน
ง. ถูกทุกข้อ

22. ข้อใดมิใช่การระงับแห่งหนี้
ก. ชำระหนี้
ข. หนี้ขาดอายุความ
ค. หนี้เกลื่อนกลืนกัน
ง. หักกลบลบหนี้

23. สัญญาใดเป็นสัญญาต่างตอบแทน
ก. สัญญาเช่าทรัพย์
ข. สัญญาให้โดยเสน่หา
ค. สัญญาจำนอง
ง. สัญญาจำนำ

24. ข้อใดไม่เป็นสัญญาต่างตอบแทน
ก. จ้างทำของ
ข. ค้ำประกัน
ค. รับขน
ง. ขายทอดตลาด

25. การให้สัตยาบันมีความหมายตามข้อใด
ก. การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะให้มีผลสมบูรณ์
ข. การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆะให้มีผลสมบูรณ์
ค. การบอกเลิกนิติกรรมที่เป็นโมฆียะ
ง. การบอกเลิกนิติกรรมที่เป็นโมฆะ

26. ข้อใดไม่ใช่กรณีของการทำละเมิด
ก. นายแดงยิงนายดำตาย
ข. นายขาวชกนายเขียวบาดเจ็บ
ค. นางม่วงใส่ร้ายนางส้มว่าโกงเงินชาวบ้าน
ง. นางเหลืองสงสัยว่านางฟ้าขโมยสายสร้อยของตน

27. ผู้ใดทำละเมิด ผู้นั้นต้องรับผิดอย่างไรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ก. ถูกปรับ
ข. จำคุก
ค. ริบทรัพย์
ง. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

28. นาย ก ขับรถชนสุนัขของนาย ข ตาย นาย ก ต้องรับผิดอย่างไรในทางละเมิด
ก. ทำให้สัตว์เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
ข. ทำให้ทรัพย์สินของผู้อื่นเสียหาย
ค. ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการจราจร
ง. ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ

29. สิทธิในการเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดจากการทำละเมิดมีอายุความเท่าใดนับตั้งแต่วันทำละเมิด
ก. ๑ ปี
ข. ๕ ปี
ค. ๑๐ ปี
ง. ๒๐ ปี

30. บุคคลต้องรับผิดร่วมกันในผลแห่งการทำละเมิด ยกเว้นข้อใด
ก. นายจ้างกับลูกจ้าง
ข. ผู้ว่าจ้างกับผู้รับจ้าง
ค. ตัวการกับนายหน้า
ง. ตัวการกับตัวแทน

คะแนนที่ได้ =
คำตอบที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น